Python Programming

การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา ไพธอน (Python Programming) เป็นภาษาโปรแกรมที่มีความสามารถและมีความยืดหยุ่นสูง นอกจากนี้ยังเป็นภาษาที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความสามารถการประมวลผลข้อมูลหลากหลายรูปแบบ มีจุดมุ่งหมายในการให้ผู้ใช้เขียนโปรแกรมได้อย่างรวดเร็วและอ่านง่าย มีรูปแบบของโค้ดที่เข้าใจง่ายและเป็นมาตรฐาน นอกจากนี้ Python ยังเป็นภาษาที่สามารถใช้งานได้หลายแพลตฟอร์ม และมีความนิยมในการพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ Python เป็นภาษาที่มีจำนวนผู้ใช้งานสูงมากและมีชุมชนผู้พัฒนาที่แข็งแกร่ง ด้วยหลายๆ คุณสมบัติดังกล่าว Python จึงเป็นภาษาโปรแกรมที่ได้รับความนิยมและถูกนำมาใช้งานในหลายๆ งาน เช่น Machine Learning, Deep Learning  การพัฒนา Web Application การสร้างเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล และอื่นๆ อีกมากมาย

ทำความเข้าใจกับภาษา Python

มีความยืดหยุ่น และง่ายต่อการเรียนรู้ เป็นภาษาโปรแกรมที่มีการใช้งานในหลายสายงาน

ไวยากรณ์ (Syntax)

กฎการเขียนโปรแกรมที่ต้องปฏิบัติตามเพื่อให้โปรแกรมสามารถรันได้ตามปกติโดยไม่มีข้อผิดพลาด

คำอธิบาย (Comment) ในโค้ด

ใช้เครื่องหมาย # แสดงความคิดเห็นหรือคำอธิบายในโค้ด โดย Python จะไม่รันคำสั่งในบรรทัดที่มีเครื่องหมาย

ตัวแปร (Variables)

การเก็บข้อมูล การเก็บค่าต่างๆ สามารถทำได้โดยไม่ต้องระบุประเภทของตัวแปรไว้ในการประกาศตัวแปร

ข้อมูลประเภทตัวเลข (Numbers)

ข้อมูลตัวเลขหลายแบบ ซึ่งสามารถใช้ในการคำนวณต่างๆ เก็บไว้ในตัวแปรมาใช้ในการคำนวณได้โดยใช้ตัวดำเนินการเชิงคณิตศาสตร์ต่างๆ

ข้อมูลประเภทข้อความ (Strings)

การเก็บข้อความหรือตัวอักษรในตัวแปร โดยใช้เครื่องหมายคำพูด ("") หรือ ('') การเข้าถึงตัวอักษรในสตริงสามารถทำได้โดยใช้ดัชนี (Index)

การตัดหรือหั่น (Slicing) ข้อความ

การเลือกส่วนหนึ่งของข้อความโดยใช้ตัวชี้หรือ index ในการระบุตำแหน่งของช้อความหรือตัวอักษร

การปรับแต่งข้อมูล (Modify) ข้อความ

การแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนเนื้อหาของ string ให้เป็นไปตามที่ต้องการ

ข้อมูลประเภทบูลีน (Boolean)

มีค่าเพียงสองค่าคือ True และ False เป็นข้อมูลที่ใช้บ่งบอกถึงค่าความจริงของเงื่อนไขในการประมวลผล

ข้อมูลประเภท List

เก็บข้อมูลหลายรายการ (หรือ element) ภายในตัวเดียว element ของ List จะเริ่มจาก index 0 เสมอ

ข้อมูลประเภท Tuples

เป็น Immutable Object ซึ่งหมายความว่าข้อมูลที่เก็บไว้ภายในไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หลังจากถูกสร้างขึ้นมา

ข้อมูลประเภท Dictionary

เป็นโครงสร้างข้อมูลประเภท mutable (สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้) มีการเข้าถึงข้อมูลด้วย key แทนการเข้าถึงด้วย index หรือตำแหน่ง

ตัวดำเนินการ (Operators)

มีหลายชนิด คือ ทางคณิตศาสตร์ / การเปรียบเทียบ / ตรรกะ / ทำซ้ำ / ทำซ้ำ /แบบขยาย/ ตรรกะต่อเนื่อง / เงื่อนไข

เงื่อนไข if … else

เงื่อนไขทางตรรกะ (conditional statement) ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของโปรแกรมให้เป็นไปตามที่ต้องการ

เงื่อนไข if … elif … else

ใช้สำหรับตรวจสอบเงื่อนไขหลายๆ เงื่อนไขในตัวเลือกเดียวกัน โดยเงื่อนไขแต่ละอันจะถูกตรวจสอบตามลำดับ

การวนซ้ำ While Loop

เป็นการวนซ้ำโค้ดเพื่อทำงานซ้ำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด จนกว่าเงื่อนไขจะไม่เป็นจริงแล้วจึงจะหยุดการทำงาน

การวนซ้ำ For Loop

เป็นโครงสร้างควบคุมการทำงานที่ใช้สำหรับการวนซ้ำ โดยจะทำงานตามจำนวนครั้งที่กำหนดให้

ฟังก์ชั่น (Function)

เป็นชุดคำสั่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้การทำงานที่ซ้ำซ้อนสามารถทำงานได้สะดวก โดยมีการรับอินพุตเข้ามาและส่งผลลัพธ์ออกมา

คลาสและออบเจ็ค (Class and Object)

เป็นแบบแปลนที่นำไปใช้สร้าง Object (ออบเจ็ค) ซึ่งจะประกอบไปด้วยสมาชิก (attributes) และเมทอด (methods) ที่เกี่ยวข้องกับ Object นั้นๆ

ฟังก์ชั่น Lambda

ฟังก์ชันที่สร้างโดยไม่ต้องประกาศฟังก์ชันโดยชื่อและใช้งานได้โดยตรง ฟังก์ชันนี้มักถูกใช้เมื่อต้องการส่งฟังก์ชันเข้าไปในฟังก์ชันอื่นๆ

โมดูล (Module)

ไฟล์นามสกุล .py ที่มีโค้ดภายในเพื่อใช้งานในโปรแกรม Python อื่น ๆ โดยโมดูลจะเป็นกลุ่มของฟังก์ชั่น คลาส ตัวแปร ที่มีความสอดคล้องกัน

โมดูลคณิตศาสตร์ (Math Module)

ฟังก์ชันหลายตัวที่ใช้ในการคำนวณเชิงคณิตศาสตร์ต่างๆ การใช้งานด้วยคำสั่ง import math แล้วเรียกชื่อโมดูลตามชื่อฟังก์ชั่น

โมดูลวันเวลา (DateTime Module)

เป็นโมดูลที่ช่วยในการจัดการกับวันที่และเวลา วันที่ (year, month, day), เวลา (hour, minute, second) และ เสี้ยววินาที (microsecond)

โมดูลสุ่ม (Random Module)

ป็นโมดูลที่มีฟังก์ชันต่าง ๆ ที่ช่วยให้สามารถสร้างตัวเลขสุ่มได้

โมดูล JSON Module

ป็นรูปแบบข้อมูลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเว็บแอปพลิเคชัน ช่วยในการสร้างและแปลงข้อมูลในรูปแบบ JSON

การรับข้อมูลจากผู้ใช้ (User Input)

ใช้ฟังก์ชัน input() ซึ่งจะแสดงข้อความให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลและรับค่าที่ผู้ใช้กรอกเข้ามาเป็นข้อมูลประเภทต่างๆ

การเชื่อมต่อ API ของ Google Sheet

การเข้าถึงและจัดการข้อมูลใน Google Sheet ได้ผ่านทางโปรแกรมของตนเอง การเชื่อมต่อ API ของ Google Sheet ใช้ OAuth 2.0 สำหรับการรับรองตัวตนและการแบ่งปันข้อมูลอย่างปลอดภัยระหว่างผู้ใช้งานกับ Google